top of page
News & Updates

18.4.21
ชมอดีตโรงหนัง - เล่าสู่กันฟังงานวิจัย
การตามรอยภาพยนตร์ศึกษา: เรื่องเล่าข้ามสื่อ สุนทรียศาสตร์ภาพยนตร์ และความทรงจำในพื้นที่


กลุ่มวิจัยสุนทรียศาสตร์และสังคมวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหิดล 

rilcaaestheticsandculture.org


โครงการการตามรอยภาพยนตร์ในประเทศไทย (ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ สกสว. และวช.) และ โครงการ Fan Tourism and the Southeast Asian Film Trails: Archive and Participatory Cultures within and beyond Colonial Nostalgia (British Academy’s Newton Mobility Grant) 

filmfantourism.org


ร่วมกับ


เฟสบุ๊คเพจไปตามรอยหนังด้วยกันมั้ย  

@tamroyfilm


จัดงานเสวนา

ชมอดีตโรงหนัง - เล่าสู่กันฟังงานวิจัย

การตามรอยภาพยนตร์ศึกษา: เรื่องเล่าข้ามสื่อ สุนทรียศาสตร์ภาพยนตร์ และความทรงจำในพื้นที่


ในวันที่ 18 เมษายน 2564  14.00-16.00 น. @Prince Theatre Heritage Stay, ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก


กำหนดการ

13.45 น.  ลงทะเบียน

14.00 น.  แนะนำโครงการวิจัย ผู้วิจัย และนักวิจัยที่ปรึกษาของโครงการและภาพรวมของเนื้อหาในการเสวนา


Part 1 ภาพยนตร์ความทรงจำ (Memory Film) และการตามรอยภาพยนตร์ในตัวบท


14.15-14.45 น.  บรรยายโดย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม


  • Memory film คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการศึกษาความทับซ้อนของประวัติศาสตร์ และความทรงจำในบริบทชาติและข้ามชาติ

  • กรณีศึกษา The Railway Man (2013) สะท้อนให้เห็นการศึกษา memory film ผ่านตัวบทวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสถานที่ได้อย่างไร

  • การตามรอยใน Memory film “เล่น” กับมิติประวัติศาสตร์และความทรงจำอย่างไรโดยเฉพาะการตามรอยภาพยนตร์ที่ตัวละครย้อนการเดินทางและความทรงจำของตนเองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์


14.45-15.00 น.  พักเบรคกับ mocktail ‘cine-mnemosyne’ โดย Box Office Bar



Part 2 ความทรงจำภาพยนตร์ (Film Memory) และการตามรอยภาพยนตร์นอกตัวบท


15.00-15.45 น. บรรยายโดย ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง


  • ปรากฎการณ์การตามรอยภาพยนตร์ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับ memory film และภาพยนตร์ genre อื่นๆ อย่างไรบ้าง

  • การศึกษาการตามรอยภาพยนตร์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เหตุใดจึงต้องพิจารณานิยามการตามรอยในมิติ cinephile pilgrimage และเรื่องเล่าในพื้นที่ข้ามสื่อ 

  • เรื่องเล่าการตามรอยในประเทศไทยในพื้นที่ออนไลน์มีลักษณะใดบ้าง สุนทรียศาสตร์การตามรอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีมิติอะไรบ้าง อาทิ การแสดงจำลองฉาก (re-enactment) เรื่องเล่าข้ามสื่อ และภาพถ่ายสถานที่ตามรอย (scene framing) ฯลฯ

  • การศึกษาการตามรอยผ่านทฤษฎีการเล่น (play theory) นำไปสู่การศึกษาพื้นที่เมืองและปฏิบัติการของผู้คนเพื่อเล่าเรื่องเมืองที่อยากอยู่อย่างไรบ้าง


Part 3 Discussion & networking


15.45-16.00 น.  เชิญชวนผู้สนใจร่วมสนทนาเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยในอนาคตในประเด็น อาทิ


  • การศึกษาการตามรอยที่เชื่อมโยงมิติสุนทรียศาสตร์ของตัวบท แฟนภาพยนตร์ อุตสาหกรรม ชุมชน และการพัฒนาเมืองเป็นไปในลักษณะไหนได้บ้าง

  • การทำ deep mapping สถานที่ตามรอยให้ครอบคลุมมิติตัวบท มิติประวัติศาสตร์และความทรงจำทำอย่างไรได้บ้าง

  • การตามรอยข้ามชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำไปสู่การตั้งคำถามเรื่องพื้นที่ ‘global south’ อย่างไรบ้าง ฯลฯ


ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่นี่ 


ร่วมส่งชื่อ soundtrack ภาพยนตร์ในความทรงจำ หรือเรื่องเล่าการตามรอยภาพยนตร์ มาเล่าสู่กันฟังได้ที่ Wikanda.pro@mahidol.edu (15 ท่านแรกรับโปสการ์ดวาดมือ การตามรอยภาพยนตร์ในความทรงจำ 

จากเพจ “ไปตามรอยหนังด้วยกันมั้ย” เป็นที่ระลึกในวันงาน)


การเดินทาง 

BTS : สะพานตากสิน

🚙 ที่จอดรถ : โรบินสันบางรัก (มีค่าบริการ)


bottom of page